ข่าวอยุธยา | khaoayutthaya.com | ข่าว | อยุธยา | พระนครศรีอยุธยา | ข่าวด่วน | ข่าวอุบัติเหตุอยุธยา | ข่าวอาชญากรรมอยุธยา | วัดป้อมแก้ว | หลวงพ่อเพิ่ม

ขุดเจาะวัดไชยวัฒนารามวางแนวสายไฟส่องสว่าง ชาวบ้านนักท่องเที่ยวชี้ไม่เหมาะสม

ข่าวอยุธยา จากกรณีมีผู้ใช้เฟสบุก นกขมิ่นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนที่ไหน ได้โพสข้อความ ขุดดินและฝังสายเคเบิ้ลบริเวณวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งถือเป็นโบราณสถานสำคัญทุบกำแพงวัดของตัวโบราณสถาน จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เป็นวงกว้างต่อการ ถึงกรมศิลปากร ที่ปล่อยให้มีการทุบทำลายแนวกำแพง ทั้งที่น่าจะมีวิธีการที่ดีกว่านี้



วันที่ 20 ส.ค. ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ ตรวจสอบบริเวณจุดที่มีการโพสภาพ พบว่า มีเจ้าหน้าที่นักโบราณคดีของอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่บริษัทผู้รับเหมาลงมาตรวจสอบแนวกำแพงสวนที่ขุดทำลายออกไป โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูล และตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าว ชี้แจ้งเพียงว่ารอให้ทางกรมศิลปากรจะเข้ามาตรวจสอบ

นอกจากนั้นยังพบว่าการขุดวางแนวสายไฟลงใต้ดิน เพื่อติดตั้งระบบไฟประดับ ไฟส่องสว่างตัวโบราณสถาน บางจุดมีการขุดเจาะใกล้กับตัวเจดีย์ลาย และยังพบว่าพื้นด้านบนยังมีการขุดเจาะเพื่อฟังสายไฟฟ้าลงใต้พื้น ยังมีการนำรถแบ็คโฮขนาเล็ก ขับทำงานอยู่ที่พื้นของแนวกำแพง จนได้รับความเสียหายบางส่วน

ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจังหวัดเพชรบุรี ที่เดินทางมาเที่ยวชมโบราณสถานวัดไชยวัฒนารามกล่าวว่าการขุด เจาะตัวโบราณสถาน ลักษณะนี้ ดูจะเป็นการทำลายโบราณสถาน ไม่ควรอย่างยิ่ง การจะทำอะไรกับโบราณสถาน กรมศิลปาดร ควรมีการพูดคุยกับชาวบ้าน หรือมีการปรัชาสัมพันธ์ถึงรูปแบบวิธีการ ของการก่อสร้างก่อน

ต่อมานางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้เดินทางมาตรวจสอบบริเวณจุดที่มีการขุดเจาะแนวกำแพงของวัดไชยวัฒนาราม
ผู้สื่อข่าวได้ขอสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์ ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล โดยแจ้งว่าต้องหาข้อมูลรายงานกรมศิลปากรก่อน



ล่าสุดพบว่า นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชี้แจง ว่า “จากกรณีดราม่าร้อนๆ ขอชี้แจงว่า ในภาพที่ท่านเห็นคืองานวางระบบไฟส่องสว่างใหม่ ก่อนการดำเนินงานมีการวางแผนแนวสายไฟให้กระทบโบราณสถานให้น้อยที่สุด

ในภาพจำเป็นต้องวางแนวสายไฟเข้าด้านในโบราณสถาน จึงตัดสินใจรื้อแนวกำแพงที่พึ่งก่อบูรณะอายุไม่เกิน 30 ปี โดยไม่กระทบหลักฐานเดิม และเสร็จแล้วจะเร่งบูรณะฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด โดยหน้างานมีเจ้าหน้าที่และนักโบราณคดีดูแลตลอด




คุณอาจสนใจข่าวนี้

error: เนื้อหา และภาพข่าวมีลิขสิทธิ์ห้ามนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติ